วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

Review Computer Desktop for Computer Education in UDRU

 สวัสดีผู้สนใจทุกท่านครับ 


       วันนี้ผมขอกลับมาแก้ตัวจากการเขียนบล็อคผิดพลาดในครั้งที่แล้ว การกลับมาครั้งนี้ผมถือโอกาสเขียนบทความสำรวจและรีวิวคอมพิวเตอร์เก่าที่เคยถูกใช้งาน และปัจจุบันนั้นถูกเก็บในห้องเก็บของ หรือที่คนเขาเรียกกันว่า "สุสานคอมฯ ^^"   เอาล่ะครับพูดพร่ำทำเพลงมามากแล้ว เรามาเริ่มกันเลย

Let's Go!



          ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนนะครับว่าเราไม่รู้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าวที่เรากำลังจะชำแหละนั้นใช้งานได้ปกติหรือไม่ แต่เราได้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า "มันอาจจะเปิดไม่ติดเลยก็เป็นได้" และหลังจากที่เราจะทำการสำรวจและประกอบกลับ มันจะกลับมาทำงานได้อีกครั้งหรือไม่ ณ ที่นี้ไม่ขอรับปากนะครับ 
ผู้ร่วมสำรวจคนที่ 1 (เจ้าของบทความ)


ผู้ร่วมสำรวจคนที่ 2



เริ่มต้นด้วยการถอดสายไฟภายในเคสทั้งหมด



          จากรูป ส่วนใหญ่สายเหล่านี้นี้ที่เราเห็นจะถูกโยงมาจาก Power Supply และมีสายต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อ/ถ่ายโอนข้อมูลจาก Mainboard สู่ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Hard Disk Drive, Floppy Disk Drive และ CD/DVD RW Drive เป็นต้น ดังจะแสดงให้เห็นในภาพด้านล่าง

* จากลูกศรสีแดง แสดงถึงการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของ Power Supply ให้แก่อุปกรณ์ต่าง ๆ
** ลูกศรสีน้ำเงิน แสดงถึงการเชื่อมต่อของ Mainboard กับอุปกรณ์ต่าง ๆ
เพื่อถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล

อุปกรณ์แรก คือ หน่วยความจำหลัก หรือเรารู้จักกันในชื่อ "แรม" (RAM : Random Access Memory)

RAM : Apacer 256MB / Nanya 256MB

          RAM จากเครื่องที่เราสำรวจมีด้วยกันถึง 2 ตัว ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นเครื่องที่เคยเทพมาก่อนใช่ไหมล่ะครับ แต่เดี๋ยวก่อน มาดูคุณสมบัติของ RAM แต่ละตัวกันก่อนว่าจะแรงอย่างที่เราคาดหวังไว้หรือไม่

คุณสมบัติของ RAM ตัวที่ 1 (ตัวบน)


คุณสมบัติของอุปกรณ์
ผู้ผลิต Apacer
หมายเลขอะไหล่ 77.10628.112
ชนิดของหน่วยความจำ DDR1 SDRAM
ฟอร์มแฟกเตอร์ 184-pin DIMM
ความจุ 256MB
ความเร็วหน่วยความจำ DDR333 (333 MHz)
อัตราการถ่ายโอนข้อมูล PC2700 (2700 MB/s


คุณสมบัติของ RAM ตัวที่ 2 (ตัวล่าง)


คุณสมบัติของอุปกรณ์
ผู้ผลิต Nanya
หมายเลขอะไหล่ NT256D64S88B1G-6K
ชนิดของหน่วยความจำ DDR1 SDRAM
ฟอร์มแฟกเตอร์ 184-pin DIMM
ความจุ 256MB
ความเร็วหน่วยความจำ DDR333 (333 MHz)
อัตราการถ่ายโอนข้อมูล PC2700 (2700 MB/s



อุปกรณ์ชิ้นที่ 2 คือ หน่วยประมวลผลกลาง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ "ซีพียู" (CPU : Central Processing Unit)

CPU : Intel Pentium 4 (1.7GHz/256/400/1.75V)

ซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อน CPU จากผู้ผลิต Intel 

          จากรูปข้างบน เราจะเห็น CPU และซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อน CPU จากผู้ผลิต Intel
ซึ่งเป็น CPU ที่เคยได้รับความนิยมสูงมากในอดีต แต่ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมี CPU ที่มีสถาปัตยกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย ซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า ให้ความร้อนน้อยกว่า ขนาดเล็กลงกว่า แต่กลับให้ประสิทธิภาพทางด้านการประมวลผลที่ดีกว่า แล้วจะมีใครล่ะครับที่ไม่อยากจะเปลี่ยนไปใช้ของใหม่ แต่ด้วยความที่ว่า Intel Pentium 4 ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาด CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลครั้งแรก งั้นเรามาทำความรู้จัก หน่วยประมวลผลรุ่นคุณปู่อย่าง Intel Pentium 4 กันเลยครับ

คุณสมบัติของ CPU


คุณสมบัติของอุปกรณ์
ผู้ผลิต Intel
ชื่อผลิตภัณฑ์ Intel® Pentium® 4 Processor 1.70 GHz, 256K Cache, 400 MHz FSB
ความจุของหน่วยความจำแคช  L2 256 KB
ความเร็ว FSB 400 MHz
การกำหนดชุดคำสั่ง 32-bit
สถาปัตยกรรมการผลิต 180 nm
อัตราความต่างศักย์ไฟฟ้า 1.58V - 1.75V
จำนวนคอร์ 1
ความถี่ฐานในการประมวลผล 1.7 GHz
การคลายความร้อนสูงสุด 64 W
Sockets ที่สนับสนุน PPGA423, PPGA478




อุปกรณ์ชิ้นที่ 3 คือ แผงวงจรรวม หรือรู้จักกันในชื่อ "เมนด์บอร์ด" (Mainboard)

Mainboard รุ่น P4S333-VM จากผู้ผลิต ASUS

          จากรูป Mainboard ASUS P4S333-VM เป็น Mainboard ที่สนับสนุน CPU 478 pin ซึ่ง Intel Pentium 4 ก็เป็น Socket 475 เห็นได้ชัดว่าสามารถใช้ร่วมกันได้แน่นอน Mainboard ASUS P4S333-VM มีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ที่อยากให้ผู้อ่านได้รู้จัก ดังนี้






หมายเลข/ชื่อองค์ประกอบ
1. ATX 12V connector 15. AGP slot
2. CPU socket 16. LAN PHY
3. North Bridge controller 17. PS/2 mouse port
4. ATX power connector 18. RJ-45 port
5. DDR DIMM sockets 19. Parallel port
6. IDE connectors 20. Game/MIDI port
7. South Bridge controller 21. Microphone jack
8. ASUS ASIC 22. Line In jack
9. Onboard LED 23. Line Out jack
10. Floppy disk connector 24. VGA port
11. Flash EEPROM 25. Serial Port
12. Super I/O controller 26. USB ports
13. PCI slots 27. PS/2 Keyboard port
14. AC'97 CODEC


          หากผู้อ่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mainboard ASUS P4S333-VM สามารถ Download เอกสารคู่มือได้จากลิงค์ต่อไปนี้ได้เลย "Download คู่มือ" 


อุปกรณ์ชิ้นที่ 4 คือ แหล่งจ่ายพลังงาน หรือ Power Supply

Power Supply ขนาด 400W จากผู้ผลิต Tsunami

          Power Supply ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีพลังงานหล่อเลี้ยง ซึ่ง Power Supply ที่อยู่ในภาพให้พลังงานกับคอมพิวเตอร์ 400W ในทางทฤษฏี แต่ระหว่างนั้นจะมีการสูญเสียพลังงานไปกับการแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าจาก 220V เป็น 12V และ 5V เพื่อนำไปจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ต่อไป

คุณสมบัติของ Power Supply


คุณสมบัติของอุปกรณ์
ปัจจัยนำเข้า

ความต่างศักย์ไฟฟ้า 115V - 230V
กระแสไฟฟ้า 8/4A
ความถี่ไฟฟ้า 50/60Hz
ปัจจัยนำออก

พลังงานไฟฟ้า 400W
สายสีส้ม +3.3V 24A
สายสีแดง +5V 35A
สายสีเหลือง +12V 15A
สายสีม่วง +5V Standby 2A
สายสีขาว -5V 0.5A
สายสีขาว -12V 0.8A
สายสีเขียว PS-ON
สายสีเขียว P.G.



อุปกรณ์ชิ้นที่ 5 คือ หน่วยความจำสำรอง หรือ HDD : Hard Disk Drive


HDD ความจุ 40GB จากผู้ผลิต Seagate

          หน่วยความจำสำรองทำหน้าที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ เช่นงาน เอกสาร ไฟล์งานต่าง ๆ ไว้สำหรับนำเข้าไปประมวลผลใน CPU

คุณสมบัติของ HDD

คุณสมบัติของอุปกรณ์
 ผู้ผลิต
 Seagate
 รุ่น ST340016A
 ชนิดของ Disk
 Barracuda ATA IV 40016
 ขนาดของ Harddisk 3.5”
 ความจุ
 40 GB (40 x 1 000 000 000 bytes)
 จำนวน Disk 1
 จำนวนหัวอ่าน
2
 ความเร็วในการหมุน
 7200 RPM


อุปกรณ์ชิ้นที่ 6 คือ เครื่องอ่าน/เขียนแผ่น ซีดี/ดีวีดี หรือ CD/DVD RW Disk Drive


CD/DVD RW Disk Drive จากผู้ผลิต Acer (ทำหน้าที่เขียน หรืออ่านแผน ซีดีหรือดีวีดี)


อุปกรณ์ชิ้นที่ 7 คือ เครื่องอ่าน/เขียนแผ่น Floppy Disk หรือ Floppy Disk Drive


Floppy Disk Drive จากผู้ผลิต Samsung (ทำหน้าที่อ่าน/เขียน Floppy Disk)


อุปกรณ์ชิ้นสุดท้าย คือ สายเชื่อมต่อชนิด IDE หรือสายแพร


สายเชื่อมต่อแบบ IDE หรือ สายแพร


Finish!


       อุปกรณ์ทั้งหมดได้ถูกถอดแแกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ มาดูภาพรวมกันหน่อยว่ามีมันจะเยอะแค่ไหนถ้าเอามาวางรวม ๆ

รูปรวมอุปกรณ์ทั้งหมด


รูปรวมอุปกรณ์ทั้งหมด (ดูมุมสูงกันบ้าง)

          เมื่อเราถอดอุปกรณ์ทั้งหมดออกมาเป็นที่เรียบร้อย สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมคือ ทำความสะอาดฝุ่น แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ เช่น ชื่อผู้ผลิต ชื่อรุ่น หมายเลขผลิตภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ในการค้นหาข้อมูลคุณสมบัติต่อไปในอนาคต


แล้วก็ถึงเวลาประกอบกลับเหมือนเดิม แต่ต้องทำให้สะอาด และจัดแต่งสายให้เป็นระเบียบ

          ลงมือประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าที่ตามขั้นตอนคล้าย ๆ กับตอนที่เราถอดออกมานั่นแหละครับ
แต่อย่าลืมก่อนที่เราจะประกอบซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อนของ CPU เราจะต้อง ทำความสะอาดซีลีโคนเก่าที่ติดอยู่กับซิงค์ และหลัง CPU ออกให้สะอาด จากนั้นบีบซีลีโคนใหม่ใส่หลัง CPU ก่อนการประกอบซิงค์ เพื่อช่วยให้ระบบระบายความร้อนของ CPU ทำงานได้ดีขึ้น

การบีบซีลีโคนใส่หลัง CPU ก่อนการประกอบซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อน CPU
          
          เมื่อประกอบทุกอย่างเข้าที่เข้าทางเป็นที่เรียบร้อย เราจะมาทดสอบเปิดเครื่องว่าจะทำงานได้หรือไม่ หลังจากการทำความสะอาดและฝีมือการประกอบคอมพิวเตอร์ของช่างคอมฯ มือสมัครเล่นอย่างพวกเราจะทำได้แค่ไหน มาลุ้นไปด้วยกันครับว่าเครื่องจะทำงานได้รึป่าว ..... @_@


=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=


เครื่องทำงานได้ปกติ

          แหม.....เครื่องกลับมาทำงานได้ปกตินะครับฝีมือช่างคอมฯ สมัครเล่นอย่างพวกเราก็ไม่ใช่ย่อยนะครับ เอาล่ะครับได้เวลาลาผู้อ่านทุกท่านแล้ว ขอให้สนุกกับบทความของพวกเรานะครับ ^^

Bye bye...



วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

ยินดีต้อนรับมนุษย์ทุกท่าน

สวัสดีผู้สนใจทุกท่าน


บล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
แล้วเข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆ นะครับ



-- Thitisak Treetat