สวัสดีผู้สนใจทุกท่านครับ
Let's Go!
ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนนะครับว่าเราไม่รู้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าวที่เรากำลังจะชำแหละนั้นใช้งานได้ปกติหรือไม่ แต่เราได้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า "มันอาจจะเปิดไม่ติดเลยก็เป็นได้" และหลังจากที่เราจะทำการสำรวจและประกอบกลับ มันจะกลับมาทำงานได้อีกครั้งหรือไม่ ณ ที่นี้ไม่ขอรับปากนะครับ
ผู้ร่วมสำรวจคนที่ 1 (เจ้าของบทความ)
ผู้ร่วมสำรวจคนที่ 2
เริ่มต้นด้วยการถอดสายไฟภายในเคสทั้งหมด
จากรูป ส่วนใหญ่สายเหล่านี้นี้ที่เราเห็นจะถูกโยงมาจาก Power Supply และมีสายต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อ/ถ่ายโอนข้อมูลจาก Mainboard สู่ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Hard Disk Drive, Floppy Disk Drive และ CD/DVD RW Drive เป็นต้น ดังจะแสดงให้เห็นในภาพด้านล่าง
* จากลูกศรสีแดง แสดงถึงการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของ Power Supply ให้แก่อุปกรณ์ต่าง ๆ
** ลูกศรสีน้ำเงิน แสดงถึงการเชื่อมต่อของ Mainboard กับอุปกรณ์ต่าง ๆ
เพื่อถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล
อุปกรณ์แรก คือ หน่วยความจำหลัก หรือเรารู้จักกันในชื่อ "แรม" (RAM : Random Access Memory)
RAM : Apacer 256MB / Nanya 256MB
RAM จากเครื่องที่เราสำรวจมีด้วยกันถึง 2 ตัว ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นเครื่องที่เคยเทพมาก่อนใช่ไหมล่ะครับ แต่เดี๋ยวก่อน มาดูคุณสมบัติของ RAM แต่ละตัวกันก่อนว่าจะแรงอย่างที่เราคาดหวังไว้หรือไม่
คุณสมบัติของ RAM ตัวที่ 1 (ตัวบน)
คุณสมบัติของอุปกรณ์
|
|
ผู้ผลิต | Apacer |
หมายเลขอะไหล่ | 77.10628.112 |
ชนิดของหน่วยความจำ | DDR1 SDRAM |
ฟอร์มแฟกเตอร์ | 184-pin DIMM |
ความจุ | 256MB |
ความเร็วหน่วยความจำ | DDR333 (333 MHz) |
อัตราการถ่ายโอนข้อมูล | PC2700 (2700 MB/s |
คุณสมบัติของ RAM ตัวที่ 2 (ตัวล่าง)
คุณสมบัติของอุปกรณ์
|
|
ผู้ผลิต | Nanya |
หมายเลขอะไหล่ | NT256D64S88B1G-6K |
ชนิดของหน่วยความจำ | DDR1 SDRAM |
ฟอร์มแฟกเตอร์ | 184-pin DIMM |
ความจุ | 256MB |
ความเร็วหน่วยความจำ | DDR333 (333 MHz) |
อัตราการถ่ายโอนข้อมูล | PC2700 (2700 MB/s |
อุปกรณ์ชิ้นที่ 2 คือ หน่วยประมวลผลกลาง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ "ซีพียู" (CPU : Central Processing Unit)
CPU : Intel Pentium 4 (1.7GHz/256/400/1.75V)
ซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อน CPU จากผู้ผลิต Intel
จากรูปข้างบน เราจะเห็น CPU และซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อน CPU จากผู้ผลิต Intel
ซึ่งเป็น CPU ที่เคยได้รับความนิยมสูงมากในอดีต แต่ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมี CPU ที่มีสถาปัตยกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย ซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า ให้ความร้อนน้อยกว่า ขนาดเล็กลงกว่า แต่กลับให้ประสิทธิภาพทางด้านการประมวลผลที่ดีกว่า แล้วจะมีใครล่ะครับที่ไม่อยากจะเปลี่ยนไปใช้ของใหม่ แต่ด้วยความที่ว่า Intel Pentium 4 ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาด CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลครั้งแรก งั้นเรามาทำความรู้จัก หน่วยประมวลผลรุ่นคุณปู่อย่าง Intel Pentium 4 กันเลยครับ
ซึ่งเป็น CPU ที่เคยได้รับความนิยมสูงมากในอดีต แต่ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมี CPU ที่มีสถาปัตยกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย ซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า ให้ความร้อนน้อยกว่า ขนาดเล็กลงกว่า แต่กลับให้ประสิทธิภาพทางด้านการประมวลผลที่ดีกว่า แล้วจะมีใครล่ะครับที่ไม่อยากจะเปลี่ยนไปใช้ของใหม่ แต่ด้วยความที่ว่า Intel Pentium 4 ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาด CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลครั้งแรก งั้นเรามาทำความรู้จัก หน่วยประมวลผลรุ่นคุณปู่อย่าง Intel Pentium 4 กันเลยครับ
คุณสมบัติของ CPU
คุณสมบัติของอุปกรณ์
|
|
ผู้ผลิต | Intel |
ชื่อผลิตภัณฑ์ | Intel® Pentium® 4 Processor 1.70 GHz, 256K Cache, 400 MHz FSB |
ความจุของหน่วยความจำแคช L2 | 256 KB |
ความเร็ว FSB | 400 MHz |
การกำหนดชุดคำสั่ง | 32-bit |
สถาปัตยกรรมการผลิต | 180 nm |
อัตราความต่างศักย์ไฟฟ้า | 1.58V - 1.75V |
จำนวนคอร์ | 1 |
ความถี่ฐานในการประมวลผล | 1.7 GHz |
การคลายความร้อนสูงสุด | 64 W |
Sockets ที่สนับสนุน | PPGA423, PPGA478 |
อุปกรณ์ชิ้นที่ 3 คือ แผงวงจรรวม หรือรู้จักกันในชื่อ "เมนด์บอร์ด" (Mainboard)
Mainboard รุ่น P4S333-VM จากผู้ผลิต ASUS
จากรูป Mainboard ASUS P4S333-VM เป็น Mainboard ที่สนับสนุน CPU 478 pin ซึ่ง Intel Pentium 4 ก็เป็น Socket 475 เห็นได้ชัดว่าสามารถใช้ร่วมกันได้แน่นอน Mainboard ASUS P4S333-VM มีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ที่อยากให้ผู้อ่านได้รู้จัก ดังนี้
หมายเลข/ชื่อองค์ประกอบ
|
|
1. ATX 12V connector | 15. AGP slot |
2. CPU socket | 16. LAN PHY |
3. North Bridge controller | 17. PS/2 mouse port |
4. ATX power connector | 18. RJ-45 port |
5. DDR DIMM sockets | 19. Parallel port |
6. IDE connectors | 20. Game/MIDI port |
7. South Bridge controller | 21. Microphone jack |
8. ASUS ASIC | 22. Line In jack |
9. Onboard LED | 23. Line Out jack |
10. Floppy disk connector | 24. VGA port |
11. Flash EEPROM | 25. Serial Port |
12. Super I/O controller | 26. USB ports |
13. PCI slots | 27. PS/2 Keyboard port |
14. AC'97 CODEC |
หากผู้อ่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mainboard ASUS P4S333-VM สามารถ Download เอกสารคู่มือได้จากลิงค์ต่อไปนี้ได้เลย "Download คู่มือ"
อุปกรณ์ชิ้นที่ 4 คือ แหล่งจ่ายพลังงาน หรือ Power Supply
Power Supply ขนาด 400W จากผู้ผลิต Tsunami
Power Supply ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีพลังงานหล่อเลี้ยง ซึ่ง Power Supply ที่อยู่ในภาพให้พลังงานกับคอมพิวเตอร์ 400W ในทางทฤษฏี แต่ระหว่างนั้นจะมีการสูญเสียพลังงานไปกับการแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าจาก 220V เป็น 12V และ 5V เพื่อนำไปจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ต่อไป
คุณสมบัติของ Power Supply
คุณสมบัติของอุปกรณ์
|
|
ปัจจัยนำเข้า | |
ความต่างศักย์ไฟฟ้า | 115V - 230V |
กระแสไฟฟ้า | 8/4A |
ความถี่ไฟฟ้า | 50/60Hz |
ปัจจัยนำออก | |
พลังงานไฟฟ้า | 400W |
สายสีส้ม | +3.3V 24A |
สายสีแดง | +5V 35A |
สายสีเหลือง | +12V 15A |
สายสีม่วง | +5V Standby 2A |
สายสีขาว | -5V 0.5A |
สายสีขาว | -12V 0.8A |
สายสีเขียว | PS-ON |
สายสีเขียว | P.G. |
อุปกรณ์ชิ้นที่ 5 คือ หน่วยความจำสำรอง หรือ HDD : Hard Disk Drive
HDD ความจุ 40GB จากผู้ผลิต Seagate
หน่วยความจำสำรองทำหน้าที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ เช่นงาน เอกสาร ไฟล์งานต่าง ๆ ไว้สำหรับนำเข้าไปประมวลผลใน CPU
คุณสมบัติของ HDD
คุณสมบัติของอุปกรณ์
|
|
ผู้ผลิต
|
Seagate
|
รุ่น | ST340016A |
ชนิดของ Disk
|
Barracuda ATA IV 40016
|
ขนาดของ Harddisk | 3.5” |
ความจุ
|
40 GB (40 x 1 000 000 000 bytes)
|
จำนวน Disk | 1 |
จำนวนหัวอ่าน
|
2 |
ความเร็วในการหมุน |
7200 RPM
|
อุปกรณ์ชิ้นที่ 6 คือ เครื่องอ่าน/เขียนแผ่น ซีดี/ดีวีดี หรือ CD/DVD RW Disk Drive
CD/DVD RW Disk Drive จากผู้ผลิต Acer (ทำหน้าที่เขียน หรืออ่านแผน ซีดีหรือดีวีดี)
อุปกรณ์ชิ้นที่ 7 คือ เครื่องอ่าน/เขียนแผ่น Floppy Disk หรือ Floppy Disk Drive
Floppy Disk Drive จากผู้ผลิต Samsung (ทำหน้าที่อ่าน/เขียน Floppy Disk)
อุปกรณ์ชิ้นสุดท้าย คือ สายเชื่อมต่อชนิด IDE หรือสายแพร
สายเชื่อมต่อแบบ IDE หรือ สายแพร
Finish!
อุปกรณ์ทั้งหมดได้ถูกถอดแแกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ มาดูภาพรวมกันหน่อยว่ามีมันจะเยอะแค่ไหนถ้าเอามาวางรวม ๆ
รูปรวมอุปกรณ์ทั้งหมด
รูปรวมอุปกรณ์ทั้งหมด (ดูมุมสูงกันบ้าง)
เมื่อเราถอดอุปกรณ์ทั้งหมดออกมาเป็นที่เรียบร้อย สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมคือ ทำความสะอาดฝุ่น แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ เช่น ชื่อผู้ผลิต ชื่อรุ่น หมายเลขผลิตภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ในการค้นหาข้อมูลคุณสมบัติต่อไปในอนาคต
แล้วก็ถึงเวลาประกอบกลับเหมือนเดิม แต่ต้องทำให้สะอาด และจัดแต่งสายให้เป็นระเบียบ
ลงมือประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าที่ตามขั้นตอนคล้าย ๆ กับตอนที่เราถอดออกมานั่นแหละครับ
แต่อย่าลืมก่อนที่เราจะประกอบซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อนของ CPU เราจะต้อง ทำความสะอาดซีลีโคนเก่าที่ติดอยู่กับซิงค์ และหลัง CPU ออกให้สะอาด จากนั้นบีบซีลีโคนใหม่ใส่หลัง CPU ก่อนการประกอบซิงค์ เพื่อช่วยให้ระบบระบายความร้อนของ CPU ทำงานได้ดีขึ้น
เมื่อประกอบทุกอย่างเข้าที่เข้าทางเป็นที่เรียบร้อย เราจะมาทดสอบเปิดเครื่องว่าจะทำงานได้หรือไม่ หลังจากการทำความสะอาดและฝีมือการประกอบคอมพิวเตอร์ของช่างคอมฯ มือสมัครเล่นอย่างพวกเราจะทำได้แค่ไหน มาลุ้นไปด้วยกันครับว่าเครื่องจะทำงานได้รึป่าว ..... @_@
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
เครื่องทำงานได้ปกติ
แหม.....เครื่องกลับมาทำงานได้ปกตินะครับฝีมือช่างคอมฯ สมัครเล่นอย่างพวกเราก็ไม่ใช่ย่อยนะครับ เอาล่ะครับได้เวลาลาผู้อ่านทุกท่านแล้ว ขอให้สนุกกับบทความของพวกเรานะครับ ^^
แบบนี้ ก้อยกนิ้วให้เลย เยี่ยมจริงๆ
ตอบลบพร้อมให้อ่านแบบ 100% และพร้อมที่จะรับคำติชมแล้วครับ
ลบแจ๋วๆๆๆ อธิบายเข้าใจง่าย ^^
ตอบลบ