วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

How To Reset PASSWORD ROOT for linux (วิธีรีเซ็ตรหัสผ่านของระบบปฏิบัติการ linux ในกรณีที่ผู้ใช้ลืมรหัสผ่านสำหรับเข้าระบบ)

How to reset password root for LinuxOS




สวัสดีครับท่านผู้อ่าน...ที่น่ารักทุกท่าน วันนี้กลับมาพบกับผมอีกครั้ง
ในบทความเกี่ยวกับการรีเซ็ตรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งานระบบปฏิบัติการ Linux ครับผม

สำหรับผู้ใช้ที่ประสบกับปัญหาการลืมรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งานระบบ ไม่ต้องกังวลไปครับ
เรามีวิธีการรีเซ็ตมาเผยแพร่ให้ทุก ๆ ท่านได้อ่าน และนำไปใช้เมื่อประสบปัญหาดั่งกล่าวได้เลย

มาดูขั้นตอนกันเลยว่าจะจะต้องอย่างไร ยุ่งยากแค่ไหน คนทั่วไปทำได้จริงหรือป่าว ได้จริงครับ
ขั้นตอนการรีเซ็ตรหัสผ่านมีดังต่อไปนี้เลยครับ

ขั้นตอนที่ 1 Advanced options for Ubuntu 


เมื่อเปิดใช้งาน Linux จะมีหน้าจอแสดงผล GNU GRUB เพื่อให้ผู้ใช้เลือกเมนูสำหรับเข้าใช้งาน
หากไม่มีการเลือกโดยผู้ใช้ ระบบจะเลือก Ubuntu โดยอัตโนมัติ แต่ในกรณีนี้คือเราต้องการรีเซ็ตรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งานจึงต้อเลือกเมนู Advanced options for Ubuntu ทั้งนี้เพื่อเข้าไปใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ในลำดับถัดไปครับผม...

ขั้นตอนที่ 2  Recovery Mode


เมื่อเข้ามาในเมนู Advance options for Ubuntu แล้วให้เราเลือกเมนู  (recovery mode) ต่อไปครับ

ขั้นตอนที่ 3 Root


ให้ผู้ใช้เลือกยังเมนู root เพื่อเปิดใช้งาน Terminal ด้วยการใช้คำสั่งในการรีเซ็ตรหัสผ่าน (passwd)

ขั้นตอนที่ 4 Commands for Remount


เมื่อเข้าสู่หน้า Terminal แล้วให้ผู้ใช้กรอกคำสั่ง ดังต่อไปนี้ตามลำดับ

คำสั่งสำหรับ Remount
       ~# mount -o rw,remount /

คำสั่งเพื่อตรวจสอบชื่อผู้ใช้ที่มีในระบบดังกล่าว (Username)
       ~# ls /home

คำสั่งสำหรับเลือก User ที่เราต้องการรีเซ็ตรหัสผ่าน
       ~# passwd [user]
       ยกตัวอย่างที่ผู้ใช้พบชื่อ User เป็น chengjung ให้ผู้ใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
       ~# passwd chengjung

จากนั้น Terminal จะแสดงข้อความ "Enter num UNIX passwprd: "
เพื่อให้ผู้ใช้รหัสผ่านใหม่ที่ต้องการตั้ง

เมื่อผู้ใช้กด Enter  Terminal จะแสดงข้อความ "Retype new UNIX password: "
เพื่อเป็นการยืนยันรหัสผ่านที่ผู้ใช้กรอกไปในครั้งแรก


ถ้าการตั้งรหัสผ่านเสร็จสิ้น Terminal จะแสดงข้อความ passwd: password update successfully
ให้ผู้ใช้กรอกคำสั่ง exit บน Terminal เพื่อออกไปยังหน้าหลักของเครื่องมือดังจะแสดงในขั้นตอนถัดไป


ขั้นตอนที่ 5 Exit and Try login


เมื่อกลับมายังหน้าเมนูของ Tools ให้ผู้ใช้เลือก resume เพื่อกลับไปยังการเข้าระบบแบบปกติ
และกรอกข้อมูล Username และ Password ที่ผู้ใช้ได้ตั้งไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้


หาก Login สำเร็จ ระบบจะแสดงผลดังภาพเลยครับผม... ขอให้ท่านผู้อ่านทุกคนโชคดี กับการรีเซ็ตรหัสผ่านครับผม

*หมายเหตุ: การรีเซ็ตรหัสผ่านของระบบสามารถทำได้กับเครื่องของบุคคลอื่น ซึ่งถือเป็นช่องทางในการแอบเข้าระบบของผู้อื่นได้โดยง่าย แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนบทความไม่สนับสนุนให้ผู้อ่าน นำไปใช้ในทางที่ผิดนะครับ ^^

Topic by Thitisak Treerat



วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

การจัดสเป็คคอมสำหรับใช้งานพื้นฐาน

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

สำหรับบทความนี้เราจะมาพูดถึงการจัดสเป็คคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานพื้นฐานในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่เราจะหาได้ในปัจจุบันเลยนะครับ

เพื่อน ๆ หลายคนคงพากันเลือกการจัดสเป็คคอมด้วยงบประมาณ 17,000 บาทบ้าง 29,900 บาทบ้างล่ะ
มันก็ซ้ำไปซ้ำมาครับ แทบจะเหมือน ๆ กันไปซะทุกคน ลองมาดูการจัดสเป็คของผู้ใช้ที่มีงบประมาณต่ำ ๆ กันบ้างว่าจะเป็นอย่างไร เชิญติดตามกันได้เลยครับผม

สำหรับผมแล้วการจัดสเป็คราคาต่ำก็ใช่ว่าจะห่วยแตกซะจนทำอะไรไม่ได้นะครับ จริงๆ เค้าทำงานได้หลากหลายเลยทีล่ะครับมาดูกันเลย...


สเป็คที่ผมเลือกคือราคา 6,700 บาท (ไม่รวมจอแสดงผลนะครับ)

สเป็คที่เลือกเหมาะสำหรับทำงานเอกสาร เล่นอินเตอร์เน็ตค้นหาข้อมูลทั่ว ๆ ไปนะครับ ราคาก็ถือว่าถูกจนใคร ๆ ก็เอื้อมถึงแน่นอนครับ

CPU
สำหรับซีพียูที่ผมเลือกคือ CPU Intel Celeron G1840 2.8GHz ถึงจะเป็น Celeron แต่ในยุกนี้เค้าทำงานได้เร็วกว่าเดิมนะครับจะบอกให้ ในราคาเพียง 1,370 บาท คุ้มค่าแน่นอน

Mainboard
เมนบอร์ดที่ผมเลือกคือเมนบอร์ดราคาประหยัดที่รองรับ Socket CPU 1150 และเป็นเมนด์บอร์ดยี่ห้อ Asrock รุ่น H81m-vg4 ราคาเพียง 1,440 บาทเท่านั้นเอง

RAM
แรมที่ผมเลือกซื้อคือ Kingston PC DDR3/1600 4GB ราคาตกตัวละ 660 บาท รับประกันจนเราตายเลยแหละครับ ถือว่าคุ้มค่าอีกแล้วน่ะแหละ

CASE
เคสที่เลือกใช้เป็นเคสของผู้ผลิต Aerocool รุ่น CS-1102 ราคาเพียง 850 บาท (ไม่มี Power Supply แถมมาให้นะครับ)

HDD
ฮาร์ดดิสก์ที่เราเลือกเลือกฮาร์ดดิสด์ขนาดความจุ 500GB ของผู้ผลิต TOSHIBA ราคาก็เทียบเท่า Mainboard ตัวนึงเลยทีเดียวครับ ราคา 1,450 บาทครับผม...!

และสุดท้ายก็เป็นชุดเมาส์และคีย์บอร์ดราคา 440 บาท ราคาไชนี้ได้ครบเซ็ตเลยครับ

ส่วนเรื่องจอแสดงผล ผมคงไม่ต้องไปแนะนำให้เสียเวลาหรอกนะครับ เพราะมันขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้ใช้ซะมากกว่า ถูกแพงขอเน้นที่ความถูกใจจะดีกว่า ถ้าหากใครเลือกที่จะเดินสายประหยัดแบบเต็มตัว
จะลองหาดูจอแสดงผลมือสองตามตลาดคลองถมแถมบ้าน หรือโรงรับจำนำก็ไม่เสียหายแต่หย่างใดเลยล่ะครับ ขอบคุณสำหรับการสละเวลาในการอ่านบทความกราว ๆ นี้ด้วยนะครับ พักหลังงานถี่จนขึ้นชื่อว่าขี้เกียจทำบทความออกมาเลยทีเดียว ก๊ากๆๆๆ

Ubuntu on Oracle VM VirtualBox

วิธีติดตั้ง Ubuntu บน Oracle VM VirtualBox



สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งกับการสอนการติดตั้ง Ununtu บน Oracle VM VirtualBox ครับผมก่อนอิ่นเรามาทำความรู้จักกับ Ubuntu กันก่อนดีกว่าครับ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง ตามมาเลยครับ
อูบุนตู (Ubuntu) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 13.4 ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีเกือบทั้งหมด(มีบางส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์ เช่น ไดรเวอร์) โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้ (http://th.wikipedia.org/wiki/อูบุนตู)

ก่อนอื่นไปดาวน์โหลด Ubuntu ก่อนตามระเบียบครับ Download Ubuntu เลือกเวอร์ชั่นใหนก็ได้ครับ ถ้าต้องการดาวน์โหลดฟรีให้เลือก Not now, take me to the download

1. เปิดโปรแกรม Oracle VM VirtualBox ขึ้นมาก็คลิกไปตามลำดับภาพเลยครับ




2. ตั้งชื่อ และเลือกระบบปฏิบัติการ




3. ตั้งค่าแรม ถ้ามีแรมเยอะก็ตั้งเป็น 1024 MB. ไปเลยครับจะได้ทำงานเร็วๆ




4. เลือกจำลองฮาร์ดดิส






5. ถ้าต้องการกำหนดพื้นที่ฮาร์ดดิสเองก็ให้เลือก Fixed size




6. กำหนดขนาดเนื้อที่ฮาร์ดดิสที่ต้องการ




7. เลือก Settings




8. กดเลือกไปตามหมายเลขเพื่อที่จะ mount iso ระบบปฎิบัติการที่เราดาวน์โหลดมา





9. เลือกระบบปฎิบัติการ




10. กด Start เพื่อติดตั้ง




11. กด Install





12. เลือกตามรูป แล้วกด Continue





13. ส่วนนี้ไม่ต้องตกใจครับ ไม่ได้ล้างฮาร์ดดิสทั้งหมดของเรา แต่ล้างเฉพาะพื้นที่ส่วนที่ VirtualBox สร้างไว้เท่านั้นครับ กด Continue





14. เลือกทำเลและภาษา







15. ตั้งชื่อ และ พาสเวิร์ด





16. ถึงตรงนี้ก็รอครับ อาจจะนานหน่อยแล้วแต่ความเร็วของเครื่อง ถ้าต่อเน็ตก็รวมทั้งความเร็วเน็ตด้วยครับ






พอติดตั้งเสร็จแล้วก็ปิดโปรแกรมไปก่อน แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ก็กด Start เลยครับโปรแกรมก็จะรันระบบปฎิบัติการ
แล้วก็จะได้ตามภาพนี้ครับ แต่น..แต๊น....

อ้างอิง: http://nikhorn-ubuntu.blogspot.com/2013/10/ubuntu-oracle-vm-virtualbox.html

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

สาธิตการถอดประกอบคอมพิวเตอร์

สาธิตการถอดประกอบคอมพิวเตอร์

       สวัสดีครับ... หลังจากห่างหายจากการเขียนบทความไปนานแสนนาน วันนี้ผมกลับมาสาธิตวิธีการถอดประกอบคอมพิวเตอร์ และการทดสอบการทำงานของ Power Supply ให้เข้าใจง่าย ๆ ด้วยวีดีโอข้างล่างนี่เลยนะครับ


       ขอบคุณสำหรับการรับชมวีดีโอสาธิตในบทความนี้นะครับ ต้องขออภัยท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านที่บทความนี้อาจจะสั้นไปหน่อย เนื่องด้วยระยะเวลาในการเขียนบทความที่น้อยนิด แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาในวีดีโอที่ผู้เขียนบทความได้นำเสนอนั้น เนื้อหาค่อนข้างจะครบในระดับนึงเลยล่ะครับ ^^

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

VDO] สาธิตการเปลี่ยนลำโพง Power Supply


สำหรับบทความนี้เราจะสาธิตวิธีการเปลี่ยนพัดลม Power Supply
ให้ท่านผู้อ่าน/ท่านผู้ชม ทุกท่านที่สนใจได้เห็นวิธีการง่าย ๆ นะครับ


          รูปร่างหน้าตาของชิ้นส่วนภายในของ Power Supply รุ่นทั่ว ๆ ไป ราคาถูก  ที่วางจำหน่าย
ในท้องตลาดนะครับ




*หมายเหตุ

1. การถอนอุปกรณ์ภายใน Power Supply ควรเช็คสายไฟให้เรียบร้อยก่อนว่าได้ถูกถอดจาก้ต่ารับบนผนังหรือรางปลั๊ก และควรใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ไม่ควรนำมือที่ไม่มีการป้องกันโดยฉนวนกันไฟฟ้า ไปแตะบนแผงวงจรที่เป็นตำแหน่งของ Capacitor
2. การใช้หัวแร้งบัดกรี ควรระไม่ให้มือหรือผิวหนังส่วนต่างๆ ของร่างกายไปสัมผัสกับบริเวณปลายหัวแร้ง เนื่องจากอาจจะโดนไฟฟ้าดูด หรือโดนอันตรายจากความร้อนสูงได้
3. การทดสอบการทำงานเบื้องต้นของ Power Supply ควรใช้ความระมัดระวังอย่างสูง ควรเสียบปลั๊กหลังจากที่มั่นใจว่าไม่มีใครนำมือไปแตะหรือนำมือไปไว้ใกล้ Power Supply

เมื่อมั่นใจว่าปลอดภัย และตรวจความเรียบร้อยทั้งหมดแล้วก็ไปดูวีดีโอสาธิตด้านล่างกันเลยครับ

วีดีโอประกอบการสาธิตการเปลี่ยนพัดลม และบัดกรีสายพัดลมเข้ากับแผงวงจร


วีดีโอการทดสอบ Power Supply เบื้องต้นว่าทำงานได้รึป่าวนะครับ

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

Review Computer Desktop for Computer Education in UDRU

 สวัสดีผู้สนใจทุกท่านครับ 


       วันนี้ผมขอกลับมาแก้ตัวจากการเขียนบล็อคผิดพลาดในครั้งที่แล้ว การกลับมาครั้งนี้ผมถือโอกาสเขียนบทความสำรวจและรีวิวคอมพิวเตอร์เก่าที่เคยถูกใช้งาน และปัจจุบันนั้นถูกเก็บในห้องเก็บของ หรือที่คนเขาเรียกกันว่า "สุสานคอมฯ ^^"   เอาล่ะครับพูดพร่ำทำเพลงมามากแล้ว เรามาเริ่มกันเลย

Let's Go!



          ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนนะครับว่าเราไม่รู้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าวที่เรากำลังจะชำแหละนั้นใช้งานได้ปกติหรือไม่ แต่เราได้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า "มันอาจจะเปิดไม่ติดเลยก็เป็นได้" และหลังจากที่เราจะทำการสำรวจและประกอบกลับ มันจะกลับมาทำงานได้อีกครั้งหรือไม่ ณ ที่นี้ไม่ขอรับปากนะครับ 
ผู้ร่วมสำรวจคนที่ 1 (เจ้าของบทความ)


ผู้ร่วมสำรวจคนที่ 2



เริ่มต้นด้วยการถอดสายไฟภายในเคสทั้งหมด



          จากรูป ส่วนใหญ่สายเหล่านี้นี้ที่เราเห็นจะถูกโยงมาจาก Power Supply และมีสายต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อ/ถ่ายโอนข้อมูลจาก Mainboard สู่ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Hard Disk Drive, Floppy Disk Drive และ CD/DVD RW Drive เป็นต้น ดังจะแสดงให้เห็นในภาพด้านล่าง

* จากลูกศรสีแดง แสดงถึงการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของ Power Supply ให้แก่อุปกรณ์ต่าง ๆ
** ลูกศรสีน้ำเงิน แสดงถึงการเชื่อมต่อของ Mainboard กับอุปกรณ์ต่าง ๆ
เพื่อถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล

อุปกรณ์แรก คือ หน่วยความจำหลัก หรือเรารู้จักกันในชื่อ "แรม" (RAM : Random Access Memory)

RAM : Apacer 256MB / Nanya 256MB

          RAM จากเครื่องที่เราสำรวจมีด้วยกันถึง 2 ตัว ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นเครื่องที่เคยเทพมาก่อนใช่ไหมล่ะครับ แต่เดี๋ยวก่อน มาดูคุณสมบัติของ RAM แต่ละตัวกันก่อนว่าจะแรงอย่างที่เราคาดหวังไว้หรือไม่

คุณสมบัติของ RAM ตัวที่ 1 (ตัวบน)


คุณสมบัติของอุปกรณ์
ผู้ผลิต Apacer
หมายเลขอะไหล่ 77.10628.112
ชนิดของหน่วยความจำ DDR1 SDRAM
ฟอร์มแฟกเตอร์ 184-pin DIMM
ความจุ 256MB
ความเร็วหน่วยความจำ DDR333 (333 MHz)
อัตราการถ่ายโอนข้อมูล PC2700 (2700 MB/s


คุณสมบัติของ RAM ตัวที่ 2 (ตัวล่าง)


คุณสมบัติของอุปกรณ์
ผู้ผลิต Nanya
หมายเลขอะไหล่ NT256D64S88B1G-6K
ชนิดของหน่วยความจำ DDR1 SDRAM
ฟอร์มแฟกเตอร์ 184-pin DIMM
ความจุ 256MB
ความเร็วหน่วยความจำ DDR333 (333 MHz)
อัตราการถ่ายโอนข้อมูล PC2700 (2700 MB/s



อุปกรณ์ชิ้นที่ 2 คือ หน่วยประมวลผลกลาง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ "ซีพียู" (CPU : Central Processing Unit)

CPU : Intel Pentium 4 (1.7GHz/256/400/1.75V)

ซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อน CPU จากผู้ผลิต Intel 

          จากรูปข้างบน เราจะเห็น CPU และซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อน CPU จากผู้ผลิต Intel
ซึ่งเป็น CPU ที่เคยได้รับความนิยมสูงมากในอดีต แต่ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมี CPU ที่มีสถาปัตยกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย ซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า ให้ความร้อนน้อยกว่า ขนาดเล็กลงกว่า แต่กลับให้ประสิทธิภาพทางด้านการประมวลผลที่ดีกว่า แล้วจะมีใครล่ะครับที่ไม่อยากจะเปลี่ยนไปใช้ของใหม่ แต่ด้วยความที่ว่า Intel Pentium 4 ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาด CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลครั้งแรก งั้นเรามาทำความรู้จัก หน่วยประมวลผลรุ่นคุณปู่อย่าง Intel Pentium 4 กันเลยครับ

คุณสมบัติของ CPU


คุณสมบัติของอุปกรณ์
ผู้ผลิต Intel
ชื่อผลิตภัณฑ์ Intel® Pentium® 4 Processor 1.70 GHz, 256K Cache, 400 MHz FSB
ความจุของหน่วยความจำแคช  L2 256 KB
ความเร็ว FSB 400 MHz
การกำหนดชุดคำสั่ง 32-bit
สถาปัตยกรรมการผลิต 180 nm
อัตราความต่างศักย์ไฟฟ้า 1.58V - 1.75V
จำนวนคอร์ 1
ความถี่ฐานในการประมวลผล 1.7 GHz
การคลายความร้อนสูงสุด 64 W
Sockets ที่สนับสนุน PPGA423, PPGA478




อุปกรณ์ชิ้นที่ 3 คือ แผงวงจรรวม หรือรู้จักกันในชื่อ "เมนด์บอร์ด" (Mainboard)

Mainboard รุ่น P4S333-VM จากผู้ผลิต ASUS

          จากรูป Mainboard ASUS P4S333-VM เป็น Mainboard ที่สนับสนุน CPU 478 pin ซึ่ง Intel Pentium 4 ก็เป็น Socket 475 เห็นได้ชัดว่าสามารถใช้ร่วมกันได้แน่นอน Mainboard ASUS P4S333-VM มีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ที่อยากให้ผู้อ่านได้รู้จัก ดังนี้






หมายเลข/ชื่อองค์ประกอบ
1. ATX 12V connector 15. AGP slot
2. CPU socket 16. LAN PHY
3. North Bridge controller 17. PS/2 mouse port
4. ATX power connector 18. RJ-45 port
5. DDR DIMM sockets 19. Parallel port
6. IDE connectors 20. Game/MIDI port
7. South Bridge controller 21. Microphone jack
8. ASUS ASIC 22. Line In jack
9. Onboard LED 23. Line Out jack
10. Floppy disk connector 24. VGA port
11. Flash EEPROM 25. Serial Port
12. Super I/O controller 26. USB ports
13. PCI slots 27. PS/2 Keyboard port
14. AC'97 CODEC


          หากผู้อ่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mainboard ASUS P4S333-VM สามารถ Download เอกสารคู่มือได้จากลิงค์ต่อไปนี้ได้เลย "Download คู่มือ" 


อุปกรณ์ชิ้นที่ 4 คือ แหล่งจ่ายพลังงาน หรือ Power Supply

Power Supply ขนาด 400W จากผู้ผลิต Tsunami

          Power Supply ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีพลังงานหล่อเลี้ยง ซึ่ง Power Supply ที่อยู่ในภาพให้พลังงานกับคอมพิวเตอร์ 400W ในทางทฤษฏี แต่ระหว่างนั้นจะมีการสูญเสียพลังงานไปกับการแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าจาก 220V เป็น 12V และ 5V เพื่อนำไปจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ต่อไป

คุณสมบัติของ Power Supply


คุณสมบัติของอุปกรณ์
ปัจจัยนำเข้า

ความต่างศักย์ไฟฟ้า 115V - 230V
กระแสไฟฟ้า 8/4A
ความถี่ไฟฟ้า 50/60Hz
ปัจจัยนำออก

พลังงานไฟฟ้า 400W
สายสีส้ม +3.3V 24A
สายสีแดง +5V 35A
สายสีเหลือง +12V 15A
สายสีม่วง +5V Standby 2A
สายสีขาว -5V 0.5A
สายสีขาว -12V 0.8A
สายสีเขียว PS-ON
สายสีเขียว P.G.



อุปกรณ์ชิ้นที่ 5 คือ หน่วยความจำสำรอง หรือ HDD : Hard Disk Drive


HDD ความจุ 40GB จากผู้ผลิต Seagate

          หน่วยความจำสำรองทำหน้าที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ เช่นงาน เอกสาร ไฟล์งานต่าง ๆ ไว้สำหรับนำเข้าไปประมวลผลใน CPU

คุณสมบัติของ HDD

คุณสมบัติของอุปกรณ์
 ผู้ผลิต
 Seagate
 รุ่น ST340016A
 ชนิดของ Disk
 Barracuda ATA IV 40016
 ขนาดของ Harddisk 3.5”
 ความจุ
 40 GB (40 x 1 000 000 000 bytes)
 จำนวน Disk 1
 จำนวนหัวอ่าน
2
 ความเร็วในการหมุน
 7200 RPM


อุปกรณ์ชิ้นที่ 6 คือ เครื่องอ่าน/เขียนแผ่น ซีดี/ดีวีดี หรือ CD/DVD RW Disk Drive


CD/DVD RW Disk Drive จากผู้ผลิต Acer (ทำหน้าที่เขียน หรืออ่านแผน ซีดีหรือดีวีดี)


อุปกรณ์ชิ้นที่ 7 คือ เครื่องอ่าน/เขียนแผ่น Floppy Disk หรือ Floppy Disk Drive


Floppy Disk Drive จากผู้ผลิต Samsung (ทำหน้าที่อ่าน/เขียน Floppy Disk)


อุปกรณ์ชิ้นสุดท้าย คือ สายเชื่อมต่อชนิด IDE หรือสายแพร


สายเชื่อมต่อแบบ IDE หรือ สายแพร


Finish!


       อุปกรณ์ทั้งหมดได้ถูกถอดแแกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ มาดูภาพรวมกันหน่อยว่ามีมันจะเยอะแค่ไหนถ้าเอามาวางรวม ๆ

รูปรวมอุปกรณ์ทั้งหมด


รูปรวมอุปกรณ์ทั้งหมด (ดูมุมสูงกันบ้าง)

          เมื่อเราถอดอุปกรณ์ทั้งหมดออกมาเป็นที่เรียบร้อย สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมคือ ทำความสะอาดฝุ่น แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ เช่น ชื่อผู้ผลิต ชื่อรุ่น หมายเลขผลิตภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ในการค้นหาข้อมูลคุณสมบัติต่อไปในอนาคต


แล้วก็ถึงเวลาประกอบกลับเหมือนเดิม แต่ต้องทำให้สะอาด และจัดแต่งสายให้เป็นระเบียบ

          ลงมือประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าที่ตามขั้นตอนคล้าย ๆ กับตอนที่เราถอดออกมานั่นแหละครับ
แต่อย่าลืมก่อนที่เราจะประกอบซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อนของ CPU เราจะต้อง ทำความสะอาดซีลีโคนเก่าที่ติดอยู่กับซิงค์ และหลัง CPU ออกให้สะอาด จากนั้นบีบซีลีโคนใหม่ใส่หลัง CPU ก่อนการประกอบซิงค์ เพื่อช่วยให้ระบบระบายความร้อนของ CPU ทำงานได้ดีขึ้น

การบีบซีลีโคนใส่หลัง CPU ก่อนการประกอบซิงค์พร้อมพัดลมระบายความร้อน CPU
          
          เมื่อประกอบทุกอย่างเข้าที่เข้าทางเป็นที่เรียบร้อย เราจะมาทดสอบเปิดเครื่องว่าจะทำงานได้หรือไม่ หลังจากการทำความสะอาดและฝีมือการประกอบคอมพิวเตอร์ของช่างคอมฯ มือสมัครเล่นอย่างพวกเราจะทำได้แค่ไหน มาลุ้นไปด้วยกันครับว่าเครื่องจะทำงานได้รึป่าว ..... @_@


=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=

=


เครื่องทำงานได้ปกติ

          แหม.....เครื่องกลับมาทำงานได้ปกตินะครับฝีมือช่างคอมฯ สมัครเล่นอย่างพวกเราก็ไม่ใช่ย่อยนะครับ เอาล่ะครับได้เวลาลาผู้อ่านทุกท่านแล้ว ขอให้สนุกกับบทความของพวกเรานะครับ ^^

Bye bye...